ลักษณะอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เป็นอาคารทรงประยุกต์ 2 ชั้น มีพื้นที่ภายในประมาณ 3200 ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนสำนักงาน ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องประชุม – สัมมนา ห้องคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ ห้องศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้า และส่วนบริการประชาสัมพันธ์ฯ
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี แบ่งการจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ จำนวน 9 ห้อง ดังนี้
1. ห้องเมืองสุพรรณ
จัดแสดงพัฒนาการของเมืองตั้งแต่สมัยก่อนสุพรรณบุรี ประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยทวารวดี ลพบุรี อยุธยา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตามลำดับโดยจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดี และโบราณสถานสำคัญต่างๆ ในจังหวัด
2. ห้องยุทธหัตถี
จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุพรรณบุรี
คือ การกระทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา
เมื่อ พ.ศ. 2135 ณ ตำบลหนองสาหร่าย ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอดอนเจดีย์
อันเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเจดีย์
ยุทธหัตถีจัดแสดงโดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ประกอบกับหุ่นจำลองและป้ายคำ
บรรยาย
3. ห้องคนสุพรรณ
จัดแสดงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ไทยละว้า ไทยพื้นบ้าน ไทยเชื้อสายจีน ไทยพวน ไทยทรงดำ ไทยกา ไทยเวียง ไทยเขมร ไทยกระเหรี่ยง และ ไทยญวน
จัดแสดงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ไทยละว้า ไทยพื้นบ้าน ไทยเชื้อสายจีน ไทยพวน ไทยทรงดำ ไทยกา ไทยเวียง ไทยเขมร ไทยกระเหรี่ยง และ ไทยญวน
4. ห้องประวัติบุคคลสำคัญ
กล่าวถึงประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีตที่เคยสร้างชื่อเสียง
และทำคุณประโยชน์นานัปการแก่ประเทศชาติและจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว), สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17
(ปุ่น ปุณณสิริ), พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ), เจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม), พลโทพระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) และนายมนตรี
ตราโมท
5. ห้องศาสนศิลป์สุพรรณ
จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ ได้แก่
โบราณศิลปวัตถุจากโบราณสถานสำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งสถาปัตยกรรม
ประติมากรรม จิตรกรรม ฯลฯ โดยเฉพาะหลักฐานประเภทพระพิมพ์
หรือพระเครื่องที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เช่น
พระพิมพ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระพิมพ์วัดพระรูป พระพิมพ์วัดบ้างกร่าง
และพระพิมพ์วัดชุมนุมสงฆ์ เป็นต้น
6. ห้องแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน
จัดแสดงหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน
ซึ่งพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี
มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 7 กิโลเมตร ของตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 มีเอกลักษณ์สำคัญ คือ
การประทับลวดลายบนผิวภาชนะ เช่น ลายรูปบุรุษไถนาเทียมโคคู่
ลายภาพบุคคลสวมเทริดกับโค ลายประทับรูปบุคคลหรือเทวดาประทับนั่งชันพระชานุ
(เข่า) ฯลฯ จัดแสดงโดยการจำลองเตาเผาภาชนะ ประกอบโบราณวัตถุ
7. ห้องวรรณกรรมเมืองสุพรรณ
จัดแสดงเรื่องราวของวรรณกรรมสำคัญ 2 เรื่อง ที่เกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี
ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ที่ได้รับการยกย่องจากวรรคดีสโมสรให้เป็นเลิศประเภทกลอนเสภา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และโคลงนิราศสุพรรณซึ่งประพันธ์โดยสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วรรณกรรมทั้งสองเรื่องเปรียบเสมือนภาพสะท้อนวิถีชีวิตขนบธรรมเนียม
ประเพณีของชาวสุพรรณบุรีในอดีต
8. ห้องเพลงพื้นบ้านสุพรรณ
จัดแสดงโดยใช้หุ่นจำลองประกอบสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ จำลองการเล่นเพลงพื้นบ้าน ซึ่งนิยมเล่นกันในงานรื่นเริงหรือเทศกาลต่างๆ ได้แก่ เพลงอีแซว และเพลงเรือ โดยมีเนื้อหาของเพลงมักเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวเกษตรกรรมจัดแสดงผลงานของศิลปินเพลงลูกทุ่งชาวสุพรรณที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ก้าน แก้วสุพรรณ, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สายัณห์ สัญญา, พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์เป็นตู้เพลง สำหรับกดฟังผลงานเพลงศิลปินท่านต่างๆ ประกอบป้ายคำบรรยาย
จัดแสดงโดยใช้หุ่นจำลองประกอบสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ จำลองการเล่นเพลงพื้นบ้าน ซึ่งนิยมเล่นกันในงานรื่นเริงหรือเทศกาลต่างๆ ได้แก่ เพลงอีแซว และเพลงเรือ โดยมีเนื้อหาของเพลงมักเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวเกษตรกรรมจัดแสดงผลงานของศิลปินเพลงลูกทุ่งชาวสุพรรณที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ก้าน แก้วสุพรรณ, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สายัณห์ สัญญา, พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์เป็นตู้เพลง สำหรับกดฟังผลงานเพลงศิลปินท่านต่างๆ ประกอบป้ายคำบรรยาย
9. ห้องสุพรรณบุรีวันนี้
จัดแสดงสภาพทั่วไปในปัจจุบันของจังหวัดสุพรรณบุรี เช่นที่ตั้งและอาณาเขต
ประชากร และการปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา การกีฬา สภาพเศรษฐกิจ
และแหล่งท่องเที่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น